โครงสร้างของลายเซ็นต์
โครงสร้างของลายเซ็นต์ ประกอบด้วย
1. ประธาน
2. บริวาร
3. ช่องไฟ
4. สกุล
5. เครือญาติ
ตำแหน่งประธาน?หมายถึง พยัญชนะตัวแรกของเราถือว่าเป็นตำแหน่งของเรา ตำแหน่งที่สอง คือบริวาร?หมายถึงญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงบริวารต่าง ๆ ต่อไป คือ?ช่องไฟ?และตามด้วยนามสกุล?นามสกุลเป็นพยัญชนะตัวแรกของเรา แล้วก็ตามด้วยเครือญาติ
ลายเซ็นของเรามีหลายตำแหน่ง แต่ว่าตำแหน่งที่สำคัญที่สุดคือประธาน ซึ่งอยู่เป็นตัวแรก เป็นตำแหน่งที่1 เราต้องเขียนตัวประธานให้ใหญ่ เช่น ผมชื่อชาญณรงค์ ผมต้องเขียนพยัญชนะ ช. ให้อยู่ในกรอบของหมายเลข 1 และตามด้วยบริวาร หมายเลข 2 จำเป็นที่จะต้องเขียนเว้นจากตัวแรก อย่าเชื่อมติดกับตัวประธาน ปกติหลายคนจะเขียนชื่อและบริวารติดกัน .ซึ่งมันจะบ่งบอกถึงเรื่องความผูกพันกับบริวาร ซึ่งจะกล่าวถึงช่วงต่อไป
ตำแหน่งต่อไปคือ?ตำแหน่งที่ 3 ช่องไฟ?ง่าย ๆ คุณเพียงแค่เอาปากกาของคุณวางทาบ เว้นช่องไฟให้เท่ากับหนึ่งช่องปากกา และตัวต่อไปคือนามสกุล หมายเลข 4?พยัญชนะ?พยัญชนะตัวแรกของคุณเป็นอะไร เช่น ผมนามสกุลขันทีท้าว ผมจะเขียน ข.จะอยู่ตำแหน่งเดียวกับประธาน แต่ว่าขนาดจะไม่เท่ากับประธานจะอยู่ประมาณ 3 ใน 4 และตัวต่อไปตามหลังตัวแรกของนามสกุล ก็เป็นเครือญาติ?คือบริวารในครอบครัว
คุณเขียนนามสกุลยาวบ่งบอกถึงเรื่องบางอย่างในเครือญาติ เงินทอง ชื่อ เสียง เกียรติยศ ของคุณ
โครงสร้างของลายเซ็นตามช่วงอายุ
เราพูดถึงโครงสร้างลายเซ็นต์ไปแล้ว ต่อไปเราจะเขียนลายเซ็นต์อย่างไรตามกฎเกณฑ์อายุ ซึ่งเรามักเริ่มเขียนลายเซ็นตั้งแต่อายุ 15 ปีจนถึงอายุ 35 ปี ซึ่งถือว่าอยู่ในเเกณฑ์ ครึ่งของชีวิต เพราะฉะนั้น ช่วงต้นของชีวิตเราจะต้องเขียนพยัญชนะชื่อเราให้ยาวกว่า นามสกุล ดังนี้
กฎเกณฑ์ของลายเซ็นต์อายุตํ่ากว่า 35 ปี ควรเซ็นชื่อให้ยาวกว่านามสกุล ซึ่งสามารถเซ็นได้ 2 วิธี
1. เซ็นเฉพาะชื่ออย่างเดียว
2. เซ็นชื่อ และนามสกุลย่อ
เมื่ออายุเลย 35 ปีไปแล้ว คนจีนบอกว่าราศีของคนจะเปลี่ยนไป จะตกที่ตา หมายถึงว่าการเจริญเติบโตก้าวหน้า เราจะเขียนพยัญชนะชื่อเราสั้นกว่านามสกุล
กฎเกณฑ์ลายเซ็นอายุ 35 ปีขึ้นไป